 |
สาเหตุปัญหางานหล่อแตกร้าว ที่มักพบได้จากการใช้อัลลอยที่มีซิลิคอนเป็นสารป้องอากาศ มีดังต่อไปนี้
สิ่งที่ควรตรวจสอบเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไข
1. ตรวจสอบช่วงเวลาของการพักเบ้าปูนหลังการหล่อ คือ การจุ่มล้างเบ้าปูนเร็วเกินไป มักจะเป็นสาเหตุของ
ปัญหางานหล่อแตกร้าว แนะนำว่า หลังการหล่องานควรพักเบ้าปูนไว้อย่างน้อย 15 นาทีแล้ง จึงจุ่มน้ำล้าง
เบ้าปูน
2. ตรวจสอบอุณหภูมิการหล่อ อัลลอยที่มีซิลิคอนเป็นสารป้องกันอากาศ อาจจะแตกร้าวได้ หากใช้อุณหภูมิ
หล่อที่ต่ำเกินไป อุณหภูมิหล่อที่เหมาะสม สามารถดูได้จากข้อแนะนำการใช้ ยูไนเต็ด อัลลอย ของแต่ละเบอร์
3. ตรวจสอบอุณหภูมิเบ้าปูนขณะหล่องาน คือ การใช้อุณหภูมิเบ้าปูนขณะหล่อที่ต่ำเกินไปกับการหล่องาน แบบที่มีความบางมาก ๆ อาจเกิดการแตกร้าวได้
4. ควรหลีกเลียงการใช้ กรดไฮโดรคลอริค หรือ กรดมูเรียติค เพื่อล้างทำความสะอาดต้นงานหล่อ โดยเฉพาะงานหล่อทองเคต่ำ เนื่องจาก เป็นกรดที่มีความสามารถในการกัดกร่อนโลหะรุนแรง ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดเป็นสาเหตุของการแตกร้าวได้
5. ตำแหน่งทางเดินน้ำโลหะที่ไม่เหมาะสม ที่ติดอยู่กับชิ้นงานหล่อ สามารถเป็นเป็นสาเหตุของปัญหาการ
แตกร้าวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ใกล้กับตำแหน่งที่ติดทางเดินน้ำโลหะ
6. รูปแบบชิ้นงานหล่อที่มีลักษณะหนา-บาง-หนา มักจะพบปัญหาการแตกร้าวบ่อย ๆ บริเวณพื้นที่บาง เนื่องจาก การแข็งตัวที่ไม่สม่ำเสมอ การเพิ่มทางเดินน้ำโลหะหรือการใช้ทางเดินน้ำโลหะแบบ 2 ทาง หรือ ตัวยู เพื่อเชื่อมต่อกับบริเวณพื้นที่หนา จะช่วยสามารถแก้ไขปัญหาได้ดี
7. การใช้โลหะเก่าในอัตราส่วนที่มากเกินไปหรือนำมาใช้หลายครั้งเกินไป อาจเป็นสาเหตุแตกร้าวได้ เนื่องจาก เกิดการสะสมของออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการหลอมโลหะเพื่อหล่อ ทำให้มีสิ่งปลอมปนสะสมอยู่ใน ทองคำ-เงิน หรือ อัลลอย ซึ่งส่งผลทำให้เป็นสาเหตุของปัญหาแตกร้าว
8. ตรวจสอบระบบการดูดอากาศของเครื่องหล่อว่า ยังสามารถทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ หากการทำงาน ของระบบสุญญากาศปล่อยการทำงานช้าเกินไป จะทำให้น้ำโลหะไม่สามารถไหลเข้าไป เต็มโพรงแบบงาน
ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งมักจะสังเกตเห็นรอยแตกร้าวได้บริเวณด้านข้างของชิ้นงาน บ่าแหวน และ หัวแหวนหรือ
ส่วนบนสุดของชิ้นงานได้
9. ทองบริสุทธิ์และเงินบริสุทธิ์มีสิ่งแปลกปลอมปะปนอยู่ เช่น สารหนู (arsenic), พลวง (antimony), บิสมัช
(Bismuth), ซีลีเนียม (Selenium) เทลลูเรียม (tellurium), กำมะถัน (sulfur), การตกค้างของคลอไรด์
(residual chlorides), เหล็ก (iron) และ เศษฝุ่นผงโลหะอื่น ๆ (traces of other metal) ซึ่งแปลกปลอม
ปะปนอยู่ในโลหะต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีปฏิกิริยากับโลหะและเป็นสาเหตุของการแตกร้าวได้
|
|