ตามดที่เกิดจากการหดตัว จะมีลักษณะรูปร่างคล้ายลายของตะข่าย หรือ เป็นเส้นขีดสลับไป-มา อาจเป็นรอย
ใหญ่บ้างหรือเล็กบ้าง และมักจะเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่หนา ๆ ของชิ้นงานหล่อ
สิ่งที่ควรตรวจสอบเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไข
1. ตรวจสอบตำแหน่งการติดทางเดินน้ำโลหะ คือ ทางเดินน้ำโลหะควรติดบริเวณที่มีความหนาที่สุด ของชิ้นงาน เพื่อให้เกิดการแข็งตัวอย่างเป็นระบบ จากบริเวณที่บางที่สุด และ ไปบริเวณที่หนาที่สุด จนแข็งตัวสุดท้ายที่ตำแหน่งทางเดินน้ำโลหะ
2. ตรวจสอบขนาดของทางเดินน้ำโลหะ คือ ขนาดของทางเดินน้ำโลหะที่เล็กเกินไป มักก่อให้เกิดปัญหาขึ้น
ที่ชิ้นงานหล่อได้
3. หลีกเลี่ยงการใช้ทางเดินน้ำโลหะที่เกิดจากการกรีดที่ก้อนยาง หรือ ทางเดินน้ำโลหะที่มีขนาดเล็ก ๆ ซึ่ง
มักเป็นสาเหตุของปัญหาตามดที่เกิดจากการหดตัวที่พบบ่อย ๆทางเดินน้ำโลหะที่มีลักษณะกลมและบาน
บริเวณปลายที่ติดกับชิ้นงาน จะช่วยให้น้ำโลหะสามารถไหลเข้าแบบโพรงงานได้ดีที่สุด
4. ตรวจสอบขนาดของลำต้นงานหล่อ คือ ลำต้นงานหล่อเปรียบเสมือนที่กักเก็บน้ำโลหะและช่วยรักษา อุณหภูมิของน้ำโลหะไว้ เพื่อช่วยให้น้ำโลหะสามารถไหลเข้าแบบโพรงงานและแข็งตัวที่ดี
5. ตรวจสอบอุณหภูมิเบ้าปูน คือ การใช้อุณหภูมิเบ้าปูนขณะหล่องานที่ร้อนเกินไป มักก่อให้เกิดปัญหาตามด
ที่เกิดจากการหดตัวได้
6. ทางเดินน้ำโลหะหลายทาง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับแบบงานที่มีลวดลาย หรือ ลักษณะหนา-บาง-หนา-บาง ซึ่งจะช่วยให้การไหลของน้ำโลหะสามารถไหลผ่านตามแบบของชิ้นงานได้ดีขึ้น และ ช่วยลดการเกิด ปัญหาตามดจากการหดตัวได้ดี
|