ตามดที่เกิดจาก ก๊าซ หรือ ฟองอากาศ จะมีลักษณะรูปร่างทรงกลม คล้ายจุดดินสอหรือรอยรูเข็มเล็ก ๆ
สิ่งที่ควรตรวจสอบเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไข
1.ตรวจสอบขั้นตอนตารางเวลาการอบปูน แนะนำว่า ควรเพิ่มเวลาในขั้นตอนสุดท้าย ณ อุณหภูมิสูงสุด
เพื่อช่วยให้เกิดการเผาไหม้เศษขี้เทียนให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้โพรงแบบงานในเบ้าปูนมี
ความสะอาดมากขึ้น
2.ตรวจสอบระบบระบายอากาศและควันเสียของเตาอบปูน แนะนำว่า ควรทำความสะอาดระบบระบาย
อากาศและควันเสียนี้ เพื่อช่วยให้เกิดการระบายอากาศและควันเสียออกได้สะดวก
3.ตรวจสอบเศษของปูนหล่อที่อาจเกาะอยู่บนเศษโลหะเก่าที่จะนำกลับมาเพื่อหล่องานใหม่ ซึ่งต้องใช้
อุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ เพื่อทำลายเศษปูนเล็ก ๆ เหล่านี้ แต่มักจะก่อให้เกิดการคลายก๊าซกำมะถัน
ออกมาจากเศษปูน และน้ำโลหะเกิดการดูดซับเข้าไป
4.ตรวจสอบหัวก๊าซที่ใช้ในการหลอมโลหะ และ ตรวจดูอัตราส่วนออกซิเจนกับก๊าซที่ทำให้เกิดเปลวไฟ
หากใช้อัตราส่วนของออกซิเจนที่มากเกินไป จะเป็นสาเหตุของปัญหาตามดที่เกิดจากก๊าซได้
5.ตรวจสอบอุณหภูมิการหล่อ ซึ่งมักจะร้อนเกินไป หรือ สายวัดอุณหภูมิ อาจเริ่มเสื่อมแล้ว
6.ตรวจสอบอัตราส่วนโลหะเก่ากับโลหะใหม่ที่นำมาผสมร่วมกัน โลหะที่นำมาใช้งาน อาจมีอัตราส่วน
โลหะเก่าที่มากเกินไป หรือโลหะเก่าอาจถูกการใช้งานมาจำนวนหลายครั้งเกินไป
7.ตรวจสอบอุณหภูมิปูนขณะหล่องาน ซึ่งอุณหภูมิปูนที่ร้อนมากเกินไป จะทำให้น้ำโลหะ เมื่อไหลเข้าไป
เต็มแบบโพรงงานในเบ้าปูนแล้ว ทำให้เกิดการแข็งตัวช้า และ น้ำโลหะมีเวลาในการดูดซับอากาศหรือ
ก๊าซเข้าไปได้
|