การผสมโลหะใหม่ และ คุณภาพของโลหะเก่า การลดอัตราการเกิดตามดนั้น มักจะมีความเกี่ยวพันร่วมกับปริมาณโลหะใหม่ที่นำมาผสมร่วมกับโลหะเก่าด้วยเสมอ
การนำโลหะใหม่มาใช้ในปริมาณที่มากขึ้น จะช่วยลดปริมาณออกไซด์ที่สะสมจากโลหะเก่าให้ลดน้อยลง ช่วยส่งผลให้อัตราการเกิดตามดลดลงตามลงไปได้ที่ดี
ซึ่งโดยทั่วไป โรงงานต่าง ๆ มักจะผสมโลหะใหม่ประมาณ 25- 50% ร่วมกับโลหะเก่า ซึ่งมีข้อแนะนำ ดังนี้
1.) หากเลือกใช้ อัลลอยแบบไม่มีส่วนผสมของสารป้องกันอากาศ และ หลอมละลายโลหะด้วยระบบเปิด ควรใช้ เพ่งแซประมาณ ¼ ช้อนชา หรือ บอริคผสมบอแร็กซ์ 50/50 ซึ่งจะช่วยลดการเกิดออกไซด์ โดยการปกคลุม
น้ำโลหะไว้ เพื่อป้องกันการดูดซับอากาศให้กับน้ำโลหะ และ ยังช่วยเพิ่มอัตราการไหลให้กับน้ำโลหะในการหล่ออีกด้วย แต่ควรระมัดระวัง การสะสมของเพ่งแซในก้นเบ้า หากมีการสะสมมากเกินไป
เพ่งแซจะสามารถไหลตามน้ำโลหะเข้าไปในโพรงแบบชิ้นงานภายในเบ้าปูนได้
2.) หากเลือกใช้ อัลลอยแบบที่มีส่วนผสมของสารป้องกันอากาศ และ หลอมละลายโลหะด้วยระบบเปิด ควรใช้ เพ่งแซ คราวละเพียงหยิกมือเดียว โดยใช้เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น ต่อการหลอมโลหะแต่ละครั้ง
3.) การหลอมโลหะเก่า ด้วยระบบเปิด เพื่อขจัดคราบปูน คราบกรด และ สารเคมีต่าง ๆ จากการล้างทำความสะอาดต้นงานหล่อ ซึ่งการใช้เพ่งแซ อาจเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อจะช่วยจับคราบปูน และ สารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้ออกมาให้
และ ควรเขี่ยคราบสิ่งสกปรก ซึ่งเพ่งแซช่วยจับไว้นี้ ออกจากน้ำโลหะก่อนการเทเม็ดหรือเทแท่ง
การผสมโลหะใหม่ ควรรักษาอัตราส่วนอย่างสม่ำเสมอ โดยทุก ๆ วัน ทุก ๆ ต้นงานหล่อ ควรมีอัตราส่วนเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ แต่สำหรับงานหล่อทองขาว อาจจำเป็นต้องการอัตราส่วนของโลหะใหม่เพิ่มมากขึ้น
อาจเป็น 50-70% เนื่องจาก มีการสะสมของออกไซด์มากกว่า เพราะอุณหภูมิหลอมหล่อที่สูงกว่า และช่วงเวลาการหลอมละลายที่นานกว่า ซึ่งการทำความสะอาดโลหะเก่า
และการรักษาอัตราส่วนผสมโลหะเก่าและโลหะใหม่นี้ จะเป็นส่วนนึงในการควบคุม และ ช่วยรักษาคุณภาพงานหล่อ ให้มีความสม่ำเสมอ และ การหลอมละลายโลหะทองขาว อาจเน้นเลือกใช้ บอริค แอริค
และ อาจจำเป็นต้องใช้มากกว่า 1 ครั้ง ในการหลอมละลายโลหะด้วยระบบเปิด
หมายเหตุ : เพ่งแซ บอแร็กซ์ และ บอริค จำเป็นสำหรับการหลอมละลายโลหะด้วยระบบเปิด แต่ไม่ควรเลือกใช้กับการหลอมละลายโลหะด้วยระบบปิด หรือ สุญญากาศ
|